Senior Care 5 Dimensions

By: | Tags: | Comments: 0 | July 10th, 2018

 
มนุษย์ทุกคนหากยังคงมีชีวิตอยู่นั้น ก็มิอาจหลีกหนี ความเสื่อมถอย หรือความชราไปได้ โดยเฉพาะผู้สูงวัย หรือคนชรา ก็จะมักมีปัญหาสุขภาพร่างกายหรือจิตใจ ไม่มากก็น้อย แต่หากเราเตรียมพร้อม ดูแลตัวเองให้มีสุขภาวะที่ดี ตั้งแต่ยังหนุ่มสาว อย่างสม่ำเสมอ แม้คุณจะมีโรคทางพัธุกรรมที่อาจหลีกหนีไม่ได้ ก็อาจทุเลาเบาบาง หรืออาจไม่ได้เป็นโรคตามกรรมพันธ์ นั้นก็เป็นได้ แต่หากตอนนี้ คุณเป็นผู้สูงอายุแล้ว หรือมีผู้สูงอายุ อยู่ที่บ้านที่เราต้องดูแล เราต้องใส่ใจกับเรื่องใดบ้าง                 โดยทั่วไปการดูแลผู้สูงอายุ (Elderly care หรือ Elder care) ประกอบด้วยการดูแลในด้าน สำคัญๆ ได้แก่ - ด้านอาหาร - ด้านการขับถ่าย - ด้านโรคประจำตัวและการติดเชื้อ - ด้านการออกกำลังกายและการป้องกันอุบัติเหตุในบ้าน - ด้านสุขภาพจิต ด้านอาหาร  :   ระบบย่อยอาหารเริ่มต้นตั้งแต่ ช่องปาก หลอดอาหาร กระเพราะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ซึ่งผู้สูงอายุ ระบบย่อยและการดูดซึมสารอาหารจะไม่สมบูรณ์แล้ว ประกอบกับการบดเคี้ยว การสบของฟัน หรือ มีปัญหาสุขภาพช่องปาก อาจส่งผลให้การเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด ประสิทธิภาพของน้ำย่อย ปริมาณน้ำย่อย และการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารและลำไส้ถดถอย เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย การย่อยการดูดซึมสารอาหารไม่สมบูรณ์ และอาจทำให้ท้องผูกตามมา   ดังนั้น ผู้สูงอายุ จึงควรรับประทานอาหารที่ย่อยง่ายๆ รสชาดไม่จัดและให้ครบทั้ง 5 หมู่ และสัดส่วนของอาหารที่พอเหมาะ ลดเค็ม ลดหวาน ลดชา กาแฟ  ลดแอลกอฮอล์
ด้านระบบขับถ่าย :    ผผู้สูงอายุมักมีปัญหาระบบขับถ่าย ทั้งถ่ายหนัก ถ่ายเบา กล่าวคือ อาจมีปัญหากลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะเล็ด อันเนื่องจากการเสื่อมของกล้ามเนื้อหูรูดกระเพราะปัสสาวะ โดยผู้หญิงสูงอายุ จะมีปัญหามากกว่าผู้ชายสูงอายุ อันเนื่องจาก  ขาดฮอร์โมนเพศ จากภาวะหมดประจำเดือน   หรือมีปัญหาท้องผูกง่าย ท้องเสียง่าย หรือภาวะลำไส้แปรปรวน ดังนั้น สุขอนามัย จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก    แนวทางการปฏิบัตตัวของผู้สูงอายุ เพื่อสุขภาวะที่ดีของการขับถ่าย แนวทางการปฏิบัติตัวของผู้สูงอายุ เพื่อสุขภาวะที่ดีของการขับถ่าย  
ด้านโรคประจำตัวและการติดเชื้อ  :   ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีโรค ประจำตัว จึงจำเป็นต้องกินยาอย่างสม่ำเสมอและอย่างเคร่งครัด สิ่งสำคัญ ที่ผู้สูงอายุต้องทราบ และต้องจดจำคือ   1. เรามีโรคประจำตัวอะไร 2. ยาที่ใช้อยู่เป็นประจำมีชื่อทางการค้าว่าอะไร 3. ถ้าทราบชื่อสามัญทางยาด้วย จะดีมาก 4. ต้องทราบความแรงของยานั้นๆ ว่ากี่มิลลิกรัม 5. ต้องทราบวิธีการกิน วิธีการใช้ 6. ต้องทราบว่าตนเคยแพ้ยาอะไรบ้างไหม 7. พยายามดูแลตัวเอง เพื่อป้องกันการติดเชื้อ  เช่น - ล้างมือทุกครั้งก่อนจับอาหาร กินร้อน ช้อนกลาง เพื่อป้องกัน การติดเชื้อทางเดินอาหาร - ดื่มน้ำให้พอเหมาะ อย่าอั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน  เพื่อป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ - หากเกิดบาดแผล ควรทำความสะอาดแผล ทายา เพื่อป้องกัน แผลติดเชื้อ - หากมีอาการ คล้ายเป็นหวัด เจ็บคอ มีไข้ ไอ หายใจติดขัด หรือ หอบเหนื่อย ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรทันที ด้านการออกกำลังกายและการป้องกันอุบัติเหตุภายในบ้าน   ด้วยความเสื่อมถอยของร่างกายของผู้สูงอายุ กล้ามเนื้อแขน ขา และความแข็งแรง ความยืดหยุ่นของกระดูก และข้อต่อต่างๆนั้นลดน้อยถอยลงไปมาก  ผู้สูงอายุจึงต้องระวังตัวเองให้ห่างไกลการเกิดอุบัติเหตุ และควรออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและ ยืดหยุ่นได้ดี โดยทั่วไปการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับคนสูงอายุ แพทย์มักจะแนะนำให้เดินวันละ 20-30 นาที ทุกวัน ซึ่งควรเดินในสถานที่ปลอดภัย เป็นทางเรียบ ไม่ขรุขระ ไม่มีสิ่งกีดขวาง ไม่ลื่น ไม่ลาดชันจนเกินไป มีแสงสว่างเพียงพอ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ และหากมีโรคประจำตัวเช่นโรคหัวใจ หอบหืด ข้อเข่าเสื่อม กล้ามเนื้ออ่อนแรง ควรปรึกษาแพทย์และนักกายภาพบำบัดก่อน ด้านสุขภาพจิต : จากความเสื่อมของร่างกายและความจำที่หลงลืม หรือแม้แต่การสูญเสียคนที่ตนรัก หรือชีวิตหลังเกษียรอายุ อาจทำให้ผู้สูงอายุ มีปัญหาทางสุขภาพจิต ซึ่งที่พบบ่อย ได้แก่ 1. ความวิตกกังวล 2. ซึมเศร้า 3. นอนไม่หลับ 4. หวาดระแวง 5. ความจำเสื่อม ผผู้ดูแล หรือลูกหลานควรสังเกตุ และเอาใจใส่ ให้ท่านยังรู้สึกภูมิใจในตนเอง ทำให้ท่านรู้สึกว่าท่านคือศูนย์รวมจิตใจของลูกหลาน เป็นที่ต้องการ เป็นที่รัก เป็นที่พักพิงใจ และให้ท่านอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี หากพบว่าผู้สูงอายุมีความวิตกกังวล ซึมเศร้า หวาดระแวง เป็นระยะเวลานาน หรือมีอาการนอนไม่หลับต่อเนื่อง ความจำเริ่มเสื่อมจนส่งผลต่อกิจวัตรประจำวัน ควรนำท่านไปปรึกษาแพทย์โดยด่วน หวังว่าคำแนะนำในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุดังข้างต้นจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านนะคะ สำหรับในฉบับต่อ ๆ ไปเราคงยังมีข้อมูลด้านสุขภาพอื่น ๆ ที่น่าสนใจอย่างต่อเนื่องอย่าลืมติดตามกันต่อนะคะ ขอบคุณค่ะ #สุขภาพดีทุกจังหวะชีวิต
 

You must be logged in to post a comment.