ผู้ป่วยติดเตียง เราควรดูแลสุขภาพช่องปาก ให้อย่างไร ?

By: | Tags: | Comments: 0 | May 21st, 2020

ผู้ป่วยติดเตียง เราควรดูแลสุขภาพช่องปาก ให้อย่างไร ?

ผู้ป่วยติดเตียง เราควรดูแลสุขภาพช่องปาก ให้อย่างไร ?

ผู้ป่วยติดเตียง กับสุขภาพช่องปากเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญ แต่มักถูกละเลยทั้งจาก ตัวผู้ป่วยเองและคนใกล้ชิด เนื่องจากความผิดปกติในช่องปากจะส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย ดังนั้นผู้ป่วยหรือผู้ดูแลควรตระหนักและดูแลสุขภาพช่องปาก ดังนี้

1. การทำความสะอาดช่องปาก
ผู้ป่วยหรือผู้ดูแลควรแปรงฟันให้สะอาดทุกวัน เช้า และก่อนนอน สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งหรือโรคเลือดที่มีการอักเสบของเนื้อเยื่ออ่อน ในช่องปากอาจเป็นอุปสรรคในการแปรงฟัน อาจเปลี่ยนไปใช้ผ้าก๊อซ โดยพันที่ปลายนิ้ว หรือใช้ไม้พันสำลีจุ่มน้ำเกลือหรือน้ำยาบ้วนปากเช็ดในช่องปากเบาๆ แทน

2. การป้องกันการติดเชื้อในช่องปาก
ผู้ป่วยอาจมีเนื้อเยื่อใน ช่องปากอักเสบได้ง่ายจากการมีภูมิต้านทานต่ำลง หรือการฉาย รังสีหรือเคมีบำบัด จึงจำเป็นต้องใช้ยาฆ่าเชื้อป้ายหรืออม ในช่องปากเพื่อป้องกันการติดเชื้อรา และเชื้อไวรัส ทั้งนี้สำหรับผู้ที่มีฟันผุง่าย ควรใช้ยาชนิดที่ไม่มีน้ำตาลเป็นส่วนผสม หรือใช้น้ำยาบ้วนปากที่ช่วยบรรเทาความเจ็บปวด

3. การดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาน้ำลายน้อย
โรคประจำตัวและการใช้ยาบางชนิดส่งผลให้มี การหลั่งน้ำลายลดลง ทำให้ช่องปากแห้ง ซึ่งอาจบรรเทาอาการได้โดยให้ผู้ป่วยบ้วนปาก หรือจิบน้ำบ่อยๆ หรืออาจใช้น้ำลายเทียม

4. การดูแลแผลในช่องปาก
แผลในช่องปากอาจมีสาเหตุมาจากการกัดกระพุ้งแก้มหรือ ริมฝีปากในผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับการควบคุมกล้ามเนื้อบดเคี้ยว ทั้งนี้ เราสามารถบรรเทา อาการได้ด้วยการใช้ยาชาเฉพาะที่ หรือ TA Oral Base ป้ายบริเวณแผลเพื่อลดความเจ็บปวด

อุปกรณ์ในการแปรงฟันของผู้สูงอายุ และ ผู้ป่วยติดเตียง
1. แปรงสีฟัน
2. ยาสีฟัน
3. ผ้าก็อซ
4. อุปกรณ์ช่วยอ้าปาก
5. น้ำยาบ้วนปาก
6. ชามรูปไต / แก้ว / ถุงมือ

ขั้นตอนง่ายๆ ในการแปรงฟันของผู้สูงอายุ และ ผู้ป่วยติดเตียง
1. จัดตำแหน่ง ผู้ป่วยติดเตียง โดยปรับให้ผู้ป่วยนั่ง 30-45 องศา
กรณีนั่งไม่ได้ให้ผู้ป่วยนอนตะแคงเพื่อป้องกันการสำลัก และควรแจ้งผู้ป่วยให้ทราบว่ากำลังจะแปรงฟัน

2. ใส่ถุงมือใช้ผ้าก้อซชุบน้ำเช็ดริมฝีปาก ผู้ป่วยติดเตียง
เพื่อให้ชุ่มชื้น และใช้ผ้าก็อซพันนิ้ว กวาดเศษอาหารเศษใหญ่ๆ ที่กระพุ้งแก้มออก แล้วเริ่มแปรงฟันโดยควรแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง เช้า-ก่อนนอน แต่ถ้าผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือก็ควรแปรงอย่างน้อยวันละครั้ง

3. ใช้อุปกรณ์ช่วยอ้าปากเพื่อเปิดปาก ผู้ป่วยติดเตียง
หลังจากนั้นเริ่มการแปรงฟัน โดยใช้แปรงสีฟันจุ่มน้ำให้เปียกแล้วบีบ ยาสีฟัน Doctor V ลงไปประมาณเม็ดข้าวโพด เริ่มแปรงฟันโดยให้ผู้ป่วยกัดฟันเพื่อแปรงฟันด้านนอกก่อน แล้วจึงอ้าปากแปรงด้านใน และแปรงลิ้นเป็นลำดับสุดท้ายค่ะ

4. ใช้แปรงซอกฟัน
ทำความสะอาดช่องว่างระหว่างฟัน โดยสอดแปรงเข้าไปในซอกฟัน ให้ขนแปรงแนบกับตัวฟันชัดขอบเหงือก จากนั้นขยับเข้าออก หลังจากนั้นใช้ผ้าชุบน้ำพันนิ้วเพื่อเช็ดฟองยาสีฟันตลอดการแปรงฟัน

5. ในระหว่างวันให้ใช้ผ้าก็อตชุบน้ำยาบ้วนปาก เช็ดในช่องปากเวลากลางวัน-เย็น ซึ่งห่างจากการแปรงฟันอย่างน้อย 2 ชั่วโมง

จริงหรือไม่ ที่ฟันคนเรา จะหลุดร่วงไปตามอายุ
ไม่จริง ฟันสามารถอยู่กับเราไปได้ตลอดชีวิตหากดูแลรักษาดี ทั้งนี้ ฟันของผู้สูงอายุ ซึ่งผ่านการใช้งานมายาวนานอาจมีการเสี่อมสภาพ เช่น สึก กร่อน สีเข้มขึ้นตามวัย แต่จะไม่หลุดไปหากสามารถดูแลสุขภาพช่องปากได้อย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ

วิธีการดูแลฟันให้อยู่กับเราตลอดไปนั้นไม่ยุ่งยาก ข้อมูลจากการประกวดสูงอายุฟันดี วัย 80 และ 90 ปี ระดับประเทศ โดยสำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย พบว่า ผู้ได้รับรางวัลสุดยอดผู้สูงอายุฟันดี ในปี 2562 ซึ่งมีอายุ 93 ปี และมีฟันแท้ในช่องปากที่ใช้งานได้ครบ 32 ซี่

มีวิธีการดูแลรักษาฟันง่ายๆ เพียงแค่แปรงฟัน วันละ 2 ครั้ง เช้าและก่อนนอน ตรวจช่องปากด้วยตนเองโดยการส่องหน้ากระจกเป็นประจำ เพื่อตรวจดูความสะอาดของฟัน (ขี้ฟัน/หินปูน) สภาพเหงือก ฟันผุหรือรากฟันผุ และรอยแผลหรือก้อนนูนที่ผิดปกติต่าง ๆ อีกทั้งไปพบหมอฟันเพื่อตรวจช่องปากเป็นประจำอย่างน้อยปีละครั้งอีกด้วย

Shop : healthymaxmarket.com
Facebook : Healthymax Club
Line : @HealthyMax
Instagram : healthymax club

 

#สุขภาพดีทุกจังหวะชีวิต
#HealthyMax
#HealthySolutions
#โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์
#ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก
#โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์อินเตอร์เนชั่นแนล
#โรงพยาบาลพระรามเก้า
#โรงพยาบาลวิมุต
#ศูนย์การค้าพาราไดซ์พาร์ค
#ไอคอนสยาม

You must be logged in to post a comment.