อยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับ DASH diet เพื่อช่วยคุณแม่ดูแลเรื่องอาหารที่เหมาะสมค่ะ…

By: | Tags: | Comments: 0 | October 29th, 2018

 

Q :คุณแม่อายุ 63 ปี เพิ่งทำการตรวจร่างกายประจำปีและได้พบแพทย์เพื่อทำการรักษาภาวะความดันโลหิตสูงเมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา แพทย์ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการรับประทานอาหารให้เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง โดยแนะนำให้รับประทานอาหาร DASH diet ซึ่งแพทย์ได้อธิบายคร่าว ๆ แล้วว่ามีหลักการอย่างไรบ้าง แต่ขณะนี้อยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับ DASH diet โดยละเอียด เพื่อช่วยคุณแม่ดูแลเรื่องอาหารที่เหมาะสมค่ะ
A :จากคำถามของคุณลูกค้า ขอแนะนำเรื่อง DASH diet ดังนี้ครับ คำว่า DASH Diet ย่อมาจาก Dietary Approaches to Stop Hypertension Diet หมายถึง แนวทางโภชนาการเพื่อหยุดความดันโลหิตสูง ฟังดูแล้วน่าสนใจใช่มั้ยครับ เรามาตามดูว่าแนวทางนี้เป็นอย่างไรบ้าง ดังนี้ หลักการสำคัญของการรับประทานอาหารแบบ DASH คือ ลดการบริโภคอาหารที่มีเกลือโซเดียมในปริมาณสูงและลดอาหารที่ประกอบด้วยไขมันอิ่มตัว ไขมันรวมและโคเลสเตอรอลลง สิ่งสำคัญคือการเพิ่มการรับประทานใยอาหาร โปรตีน แคลเซียม แร่ธาตุต่างๆ เช่น โปแตสเซียมและแมกนีเซียม สัดส่วนการรับประทานอาหารตามหลัก DASH ใน 1 วัน จะประกอบด้วย

1. ธัญพืชชนิดต่าง ๆ โดยเน้นเป็นธัญพืชไม่ขัดสี 7-8 ส่วนบริโภค (หรือประมาณ 7-8 ทัพพี) เพื่อเพิ่มการรับประทานใยอาหารที่เสริมการขับถ่ายได้อย่างสะดวกและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเรื้อรัง2.ผักและผลไม้อย่างละ 4-5 ส่วนบริโภค (หรือประมาณ 4-5 ทัพพี และผลไม้ 3-4 ส่วน) เพิ่มการรับประทานใยอาหาร วิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ที่ช่วยเสริมสร้างการทำงานของร่างกาย โดยเน้นรับประทานผักและผลไม้สด หลีกเลี่ยงผักและผลไม้กระป๋องหรือผลิตภัณฑ์แปรรูปต่าง ๆ

3.เลือกรับประทานเนื้อสัตว์ไขมันต่ำอย่างเนื้อปลา 2-3 ส่วนบริโภค (หรือประมาณ 4-6 ช้อนกินข้าว) ซึ่งการรับประทานเนื้อปลายังช่วยเพิ่มการบริโภคกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่ช่วยบำรุงหัวใจอีกด้วย

4.น้ำมันหรือไขมัน 2-3 ส่วนบริโภค(หรือไม่เกิน 6 ช้อนชา) การรับประทานไขมันที่มากเกินไปก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ แต่ถึงอย่างนั้นไขมันยังเป็นสารอาหารจำเป็นที่ช่วยให้การดูดซึมวิตามินชนิดที่ละลายน้ำ รวมถึงเป็นแหล่งของกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย

5.ถั่วชนิดต่าง ๆ เช่น อัลมอนด์ 4-5 ส่วนบริโภค (หรือประมาณ 4-5 ฝ่ามือ) ต่อสัปดาห์ เนื่องจากถั่วชนิดต่างๆมีกรดไขมันชนิดที่ดีอยู่ ทั้งกรดไขมันโอเมก้า 3,6,9

6.ของหวานชนิดต่าง ๆ ไม่เกิน 5 ส่วนบริโภคต่อสัปดาห์ แนะนำให้รับประทานนาน ๆ ครั้ง หรืออาจมีการใช้สารแทนความหวานในการปรุงอาหาร

7.แนะนำให้ใช้เครื่องเทศหรือสมุนไพรต่าง ๆ ในการเสริมรสชาติอาหาร และลดการใช้เกลือหรือเครื่องปรุงที่มีโซเดียมสูงในการปรุงแต่งอาหาร

 

You must be logged in to post a comment.